วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ขั้นตอนในการสแกนเอกสาร

1. เปิดฝา และคว่ำเอกสารลงบนแผ่นแก้ว ด้านในของฝาปิดส่วนใหญ่จะบุด้วยฟองน้ำสีขาว น้อยครั้งจะเห็นเป็นสีดำ ส่วนที่ฝานี้สามารถปรับขึ้นลงหรือถอดได้ ถ้าจะสแกนหนังสือเล่มโต หรือวัสดุที่มีความหนา


2. สแกนเนอร์รุ่นใหม่ หลอดไฟที่ใช้ในการส่องเอกสาร เป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ ชื่อภาษาอังกฤษเขียนว่า cold cathode fluorescent (CCFL) หรือ Xenon lamp ให้ความสว่างได้สูงมาก แต่ถ้าเป็นสแกนเนอร์รุ่นเก่าจะใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ธรรมดา เหมือนกับหลอดที่เราใช้กับไฟบ้านนั่นเแหละ



3.กระจก เลนส์ ฟิลเตอร์ และแถวCCD ประกอบขึ้นเป็นหัวสแกน ซึ่งจะเคลื่อนที่ช้าๆ ผ่านเอกสาร โดยสายพาน ที่คล้องผ่านสเตปปิงมอเตอร์ หัวสแกนจะเคลื่อนที่อยู่ในแท่ง สเตบิไลเซอร์ เพื่อควบคุมให้การเคลื่อนที่ไม่เกิดการสั่นสะเทือน


4. แสงสะท้อนจากเอกสารผ่านเข้ากระจก สแกนเนอร์บางรุ่นมีกระจก 2 อัน ขณะที่บางรุ่นมีกระจก 3 อัน กระจกแต่ละอันจะทำให้ผิวโค้งเล็กน้อย เพื่อให้สามารถใช้งานได้ในพื้นที่แคบๆ

5.กระจกอันสุดท้ายจะสะท้อนภาพไปที่เลนส์ โดยเลนส์จะทำหน้าที่รวมแสงผ่านฟิลเตอร์ และสุดท้ายไปแปลงสัญญาณที่ แถวCCD


ฟิลเตอร์กับเลนส์ ตั้งอยู่บนฐานของสแกนเนอร์ สแกนเนอร์รุ่นเก่า จะใช้วิธีการสแกน 3 ครั้ง แต่ละครั้งผ่านฟิลเตอร์ 3 สี (แดง เขียว และน้ำเงิน) ซึ่งวางอยู่ระหว่างเลนส์ กับแถวซีซีดี หลังจากผ่านการสแกน 3 ครั้ง โปรแกรมของสแกนเนอร์จะทำการรวมภาพทั้ง 3 สีให้เป็นสีธรรมชาติ

สแกนเนอร์สมัยใหม่ ไม่ต้องสแกน 3 ครั้งอีกแล้ว ใช้การสแกนเพียงครั้งเดียว โดยการใช้เลนส์แบ่งแสงที่สะท้อนจากภาพออกเป็น 3 ลำ แต่ละลำผ่านเข้าฟิลเตอร์ 3 สี (แดง , เขียว และน้ำเงิน) ผ่านเข้าสู่ แถวCCD 3 แถว โดยมีโปรแกรมจัดการรวมสัญญาณภาพทั้ง 3 ให้เป็นสีธรรมชาติ

เมื่อเครื่องสแกนเนอร์แปลงสัญญาณภาพเป็นสัญญาณดิจิตอล สัญญาณที่ได้จะถูกส่งผ่านไปยังคอมพิวเตอร์ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร ที่นิยมมีด้วยกัน 3 ช่องคือ


• พอร์ตขนาน (Parallel) เป็นช่องที่นิยมสุด เพราะง่ายแก่การต่อ เป็นพอร์ตเดียวกันกับเครื่องพิมพ์ แต่มีข้อเสียคือการส่งถ่ายข้อมูลค่อนช้างช้า

• พอร์ตสแกสซี่ (SCSI) ย่อมาจาก small computer system interface เป็นพอร์ตที่มีความเร็วสูงมาก พอร์ตนี้ต้องใช้การ์ดพิเศษเสียบเสริมเข้าไปในคอมพิวเตอร์ สแกนเนอร์ที่ใช้พอร์ตนี้ได้ ราคาค่อนข้างแพง

• พอร์ตยูเอสบี (USB) ย่อมาจาก Universal serial bus พอร์ตนี้ใช้ง่าย และมีความเร็วค่อนข้างสูง จึงมีความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ


ข้อมูลจาก http://www.rmutphysics.com/CHARUD/howstuffwork/scanner/scannerthai1.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น